วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ข้อมูลจังหวัด
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ (HISTORY)
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น
เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของ
นักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ์สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไป
ในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง
รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร
ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ
แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้น
ของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตน โกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ.2476
ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์
ไม่ปรากฎในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่
เมืองนางรองเมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี
กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์
จึงโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี
เป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)
คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด
เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์
รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง)ให้เป็นเจ้าเมือง
ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ ด้วยปรากฎว่า ได้มีการแต่งตั้ง
พระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411
เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ
มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441
เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง
รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ
มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้
เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์
แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์"
และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2444 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ
คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ นางรอง พุทไธสง ประโคนชัย และรัตนบุรี
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา
จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น "จังหวัดบุรีรัมย์" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
สัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์
ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์

เป็นรูปปราสาทเขาพนมรุ้งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในเป็นท้องพระโรง มีเทวสถาน
และรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่บนยอดเขาแห่งนี้ด้วยภาพเทวดาร่ายรำ
หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข
ท่่าร่ายรำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับการออกเสียงพยางค์สุดท้ายของเชื่อจังหวัด
 
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกสุพรรณิการ์ หรือ ดอกฝ้ายคำ


 
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นแป๊ะ


 
ต้นไม้มงคลพระราชทาน ได้แก่ ต้นกาฬพฤกษ์


วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

พุทธชยันตี

พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธศาสนา[1] หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ [2]
โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี[3] แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่น เอง
พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง[4]

ประวัติ

คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกา[5] และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ (2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศ พม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย[6][7]
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษในครั้งนั้น ในประเทศอินเดีย ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการนำของ ดร.บี.อาร์.อามเพฑกร นำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ การสร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระ นี้ และนอกจากนี้ ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ยังได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธอุบัติภูมิอีกด้วย
[8] ในประเทศพม่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างปาสาณคูหาเพื่อการทำฉัฏฐสังคีติสังคายนาพระไตรปิฎก[9] สำหรับในประเทศศรีลังกา ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นการประกาศศักยภาพของประเทศศรีลังกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ด้วย[10]
โดยในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ[11]1 มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[12] พระราชบัญญัติล้างมลทิน[13] มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย[14] นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ"[15] ทำให้คำว่า "พุทธชยันตี" ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบตอบคำถามสุขภาพ

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ระบบย่อยอาหารเริ่มขึ้นที่ใด
    ก.  ปาก
    ข.  
    กระเพาะอาหาร
    ค.  
    ลำไส้เล็ก
    ง.  
    ลำไส้ใหญ่
2. อวัยวะใด  ทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารกับน้ำลาย
    ก.  ปาก
    ข.  
    ลิ้น
    ค.  
    หลอดอาหาร
    ง.  
    กระเพาะอาหาร
3. อวัยวะข้อใด  ทำหน้าที่ย่อยอาหารและพักอาหารชั่วคราว
    ก.  ปาก
    ข.
     หลอดอาหาร
    ค.  
    กระเพาะอาหาร
    ง.  
    ลำไส้เล็ก
4. ข้อใดเป็นหน้าที่ของตับ
    ก.  ผลิตน้ำย่อย
    ข.  
    ผลิตน้ำดี
    ค.  
    ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
    ง.   
    ดูดซึมอาหาร
5. การย่อยอาหารในกระเพาะอาหารจะใช้เวลานานเท่าใด
    ก.  1-2 ชั่วโมง
    ข.  
    2-3 ชั่วโมง
    ค.  
    3-4 ชั่วโมง
    ง.  
    5-6 ชั่วโมง
6. กรดอะมิโน แอมิเลส (Amylase)  ย่อยอาหารชนิดใด
    ก.   แป้ง
    ข.  
    โปรตีน
    ค.  
    น้ำตาล
    ง.  
    ไขมัน
7. ข้อใดทำหน้าที่ย่อยโปรตีนของ้ำนม
    ก.  เพปซิน (Pepsin)
    ข.  
    เรนนิน (Rennin)
    ค.
     แอมิเลส (Amylase)
    ง.  
    ไลเพส (Lipase)
8. ข้อใดทำหน้าที่ย่อยไขมัน
    ก.  ไลเพส (Lipase)
    ข.  
    ทริปซิน (Tryprin)
    ค.  
     ไทอาลิน (Ptyalin)
    ง.   
    มอลเทส (Maltase)
9. ช่วยระบายของเสียและกากอาหารออกจากร่างกาย  เป็นหน้าที่ของอวัยวะใด
    ก.  ลำไส้เล็กท่อนกลาง
    ข.  
    ลำไส้เล็กท่อนปลาย
    ค.  
    ลำไส้ใหญ่
    ง.  
    ไส้ติ่ง
10. การออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร  จะมีผลอย่างไรต่อสุขภาพร่างกาย
    ก. อ่อนเพลีย
    ข.
    จุกเสียด
    ค.
    ลำไส้เล็ก
    ง.
    ลำไส้ใหญ่
11. ข้อใดเป็นหน้าที่ของระบบหายใจ
    ก.  การถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน
    ข.  
    การนำก๊าซออกซิเจนจากอากาศภายนอกเข้าสู่ร่างกายและถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
    ค.  
    การหายใจผ่านหลอดลม
    ง.  
    การขยายช่องอก  เพื่อให้ปอดพองโต
12. ส่วนใดช่วยปรับอุณหภูมิของลมหายใจ
    ก.  หลอดลม
    ข.  
    ปอด
    ค.  
    หัวใจ
    ง.   
    กระบังลม
13. การหายใจถูกควบคุมโดย
    ก.  จมูก
    ข.  
    หลอดลม
    ค.  
    ปอด
    ง.  
    กระบังลม
14. การหายใจเข้า  ลักษณะของกระบังลมเป็นอย่างไร
    ก.  กระบังลมหดตัว
    ข.  
    กระบังลมคลายตัว
    ค.  
    กระบังลมคงที่
    ง.  
    กระบังลมทำงานแผ่วลง
15. ข้อใดเป็นหน้าที่ของเยื่อบุจมูกและขนอ่อนในจมูก
    ก. หายใจเข้า - ออก
    ข.  
    กรองฝุ่นละออง
    ค.  
    แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    ง.  
    ไอ  จาม
16. ข้อใดเป็นส่วนที่หลอดอาหารและหลอดลมมาบรรจบกัน
    ก.  คอหอย
    ข.  
    กล่องเสียง
    ค.  
    ขั้วปอด
    ง.  
    ขั้วหัวใจ
17. ข้อใดเป็นส่วนที่แยกออกจากปลายล่างสุดของหลอดลม
    ก.  หลอดอาหาร
    ข.  
    คอหอย
    ค.  
    กล่องเสียง
    ง.  
    ขั้วปอด
18. ก๊าซชนิดใดที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างมาก
    ก.  คาร์บอนไดออกไซด์
    ข.  ค
    าร์บอนมอนน๊อกไซด์
    ค.  
    ออกซิเจน
    ง.  
    ไนโตรเจน
19. โรคของระบบการหายใจข้อใด  เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่สกปรกเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน
    ก.  หอบ  , หืด
    ข.  
     ถุงลมโป่งพอง
    ค.  
    ปอดดำ
    ง.  
    ริดสีดวงจมูก
20. ข้อใดเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากระบบการหายใจ
    ก.  หอบ  , หืด
    ข.  
    วัณโรค
    ค.
     ถุงลมโป่งพอง
    ง.  
    มะเร็งปอด

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องอาหาร และโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

           ให้นักเรียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้อง

1.ผู้ป่วยโรคไตควรเลือกรับประทานอาหารชนิดใด

ก.รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ                         ข.รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง

ค.รับประทานอาหารที่มีรสจืด                             ง.รับประทานที่มีรสจัด

2.วัยใดมีการเจริญเติบโตและการพัฒนาการเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ก.วัยทารก                                                    ข.วัยเด็ก

ค.วัยรุ่น                                                        ง.วัยผู้ใหญ่

3.อาการกล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน มีสาเหตุมาจากการได้รับสารพิษชนิดใดเข้าสู่ร่าง

กาย

ก.สารบอแรกซ์                                              ข.สารฟอกขาว

ค.สารฟอร์มาลิน                                            ง.สารเร่งเนื้อแดง

4.สารตกค้างของยาปฎิชีวนะและดีดีที พบมากในเนื้อสัตว์ชนิดใด

ก.เนื้อหมู                                                     ข.เนื้อไก่

ค.เนื้อวัว                                                      ง.ปลาหมึก

5.ส่วนใดของสัตว์ปีกที่มีการสะสมของสารตกค้างมากที่สุด

ก.อก สะโพก                                                ข.อก ปีก

ค.คอ หัว                                                     ง.หัว ปีก

6.สารแคดเมียมซึ่งเป็นสารปนเปื้อนมาจากน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม มักพบในสัตว์ทะเลชนิดใด

ก.กุ้ง                                                         ข.หอย

ค.ปู                                                          ง.ปลาหมึก

7.ผักที่มักพบไข่พยาธิหรือตัวอ่อนของพยาธิคือผักชนิดใด

ก.ผักกาดขาว                                              ข.ผักคะน้า

ข.ถั่วฝักยาว                                                ง.มะเขือพวง

8.ผักในกลุ่มใดที่น่าจะมีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากที่สุด

ก.ผักแว่น ยอดแค                                        ข.กะหล่ำปลี ใบยอ

ค.ผักบุ้ง ข้าวโพดอ่อน                                  ง.ถั่วงอก สะระแหน่

9.สารเคมีชนิดใดที่ใช้แช่หรือรดผักผลไม้ให้มีความสดอยู่เสมอ

ก.สารฟอกขาว                                           ข.สารฟอร์มาลิน

ค.สารบอแรกซ์                                           ง.กรดซาลิซิลิก

10.การสะสมสารพิษในร่างกาย มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารในข้อใด

ก.เลือกรับประทานเนื้อสัตว์สลับกับผัก

ข.เลือกรับประทานอาหารที่ชอบทุกประเภท

ค.เลือกรับประทานเพียงผักและผลไม้

ง.เลือกรับประทานอาหารหรือผักเพียงชนิดเดียว

แบบทดสอบหลังก่อนเรียนเรื่องคุณค่าของชีวิตและครอบครัว

          ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

1.การเปิดใจยอมรับความแตกต่างในเรื่องทัศนคติของผู้ปกครอง จะช่วยลดปัญหาในข้อใด

ก.ปัญหาการหนีเรียน

ข.ปัญหาเรื่องเพศ

ค.ปัญหาการยกพวกตีกัน

ง.ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย

2.การเดินจับมือถือแขน หรือการแสดงความรักต่อกันอย่างเปิดเผยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก

ชาติใด

ก.อินเดีย                                          ข.จีน

ค.ชาติตะวันตก                                  ง.ชาติตะวันออก

3."โตขึ้นแล้วจะรู้เอง" เป็นตอบที่มักมาจากคำถามในเรื่องใด

ก.เพศ                                              ข.วิทยาศาสตร์

ค.ไสยศาสตร์                                     ง.การวางแผนครอบครัว

4.สถาบันใดที่มีความสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมทางเพศให้กับวัยรุ่นได้ดีที่สุด

ก.สถาบันการศึกษา

ข.สถาบันครอบครัว

ค.สถาบันสังคม


ง.สถาบันพัฒนาบุคลิกภาพ

5.ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเพศ และการเจริญเติบโตมีผลต่อการพัฒนาในด้านใด

ก.พัฒนาการทางเพศ

ข.พัฒนาการทางด้านร่างกาย

ค.พัฒนาการทางด้านอารมณ์

ง.พัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ

6.เมื่อวัยรุ่นหญิงมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน ควรขอคำปรึกษาจากใคร

ก.แม่

ข.พ่อ

ค.เพื่อน

ง.ครูพยาบาล

7."วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ" เป็นลักษณะที่ใช้เรียกบุคคลวัยใด

ก.วัยเด็ก

ข.วัยรุ่น

ค.วัยผู้ใหญ่

ง.ผู้ใหญ่วัยทอง

8.พฤติกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางเพศในวัยรุ่นมากที่สุด

ก.ชอบดูหนังแนวสยองขวัญ

ข.ชอบทำกิจกรรมที่ท้าทาย


ค.ให้ความสนิมสนมกับเพื่อนต่างเพศ

ง.ให้ความสนิมสนมกับเพื่อนต่างวัย

9.วัยรุ่นมีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องใดมากที่สุด

ก.เรื่องเพศ

ข.เรื่องส่วนตัวตัวของเพื่อน

ค.เรื่องการเรียน

ง.เรื่องครอบครัวของตนเอง

10.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว

ก.การวางแผนระยะห่างของการมีบุตร

ข.การกำหนดเพศของบุตร

ค.การควบคุมการมีบุตรตามจำนวนที่ต้องการ

ง.การวางแผนการใช้ชีวิตคู่ในด้านเศรษฐกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเสี่ยงต่อวัยรุ่น

พฤติกรรมวัยรุ่น:
มีปัญหาอารมณ์และพฤติกรรม สาเหตุอาจเกิดจากการร้องไห้เพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ หรือเพื่อน หรือเพื่อทดสอบว่า พ่อแม่หรือเพื่อนรักเราจริงไหม รักเท่าคนอื่นไหม หรือเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กว่าใครขัดใจก็จะร้องไห้จนติดเป็นนิสัย วิธีการช่วยเหลือ กรณีติดเป็นนิสัยจะต้องใช้เวลานานในการรักษา



รู้สึกเหงา เป็นเรื่องธรรมดาที่ในแต่ละช่วงเวลาที่เราอยู่คนเดียวในบางขณะ บาง บรรยากาศ หรือสถานการณ์ เราจะเกิดความรู้สึกเหงาขึ้นมา เช่น บางครั้ง ที่เราฟังเพลงเศร้า ๆ หรือถูก ปล่อยให้อยู่ตามลำพังนาน ๆ โดยมิได้ติดต่อ กับใคร ในช่วงที่เราห่างไกลเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือคนใกล้ชิด

วัยรุ่นกับความเหงา คุณเป็นวัยรุ่นที่กำลังเหงาอยู่หรือเปล่าคะ อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ ความเหงาเป็น เรื่องธรรมดาสำหรับวัยรุ่น และสำหรับคนทั่วไปด้วย บางครั้งคนเราก็จะรู้สึกเหงา ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบรรยากาศเป็นใจ เช่น บรรยากาศตอนใกล้ค่ำ หรือช่วงที่ต้องอยู่คนเดียว ห่างไกลผู้คน

วัยรุ่นชอบโกหก
วัยรุ่นโกหกเก่ง โกหกบ่อย หรือไม่พูดความจริงหรือพูดกำกวม จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง มักมีสาเหตุ อย่างน้อย ๆ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1. จงใจที่จะไม่พูดความจริงปิดบังอำพรางความเป็นส่วนตัวของเขา ไม่ต้องการให้ใครรู้ 2. ไม่กล้าพูดความจริง เพราะกลัวจะถูกตำหนิติเตียน

วัยรุ่นชอบขโมยของ การลักขโมยของวัยรุ่นมักมีสาเหตุสำคัญ ๆ อย่างน้อย 3 อย่างคือ 1. เพราะขาดการอบรมบ่มนิสัยหรือจริยธรรม 2. เพราะขาดแคลนในสิ่งที่ต้องการปรารถนา 3. เพราะต้องการแก้แค้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์ หรือองค์กร ที่ตนสังกัด 4. เพราะมีปัญหาทางจิตใจ

วัยรุ่นที่มีนิสัยเกียจคร้าน
หากวัยรุ่นเกียจคร้าน สบาย ๆ ไม่อยากทำอะไร / นอนทั้งวัน ก่อนอื่นใด พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ จะต้องไม่ด่วนตกใจหรือด่าทอตำหนิติเตียนให้เขารู้สึกเจ็บช้ำ น้ำใจ จึงเข้าใจว่านั่นเป็นความประพฤติ ที่อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวชั่วครู่ชั่วยาม เท่านั้น แต่ถ้าพฤติกรรมเกียจคร้าน

วัยรุ่นที่ใช้เงินเปลือง
ปัญหาการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของวัยรุ่น เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินตัว ชอบซื้อ ของที่ไม่จำเป็น แรก ๆ ที่ซื้อมาก็อาจจะเห่อ พอนานเข้าก็เบื่อแล้ว เลิกสนใจไปเลย หรือไม่ก็ซื้อ เพราะอยากมีเหมือนเพื่อน ๆ ถ้าเป็นเช่นนี้คุณควร ฝึกให้ลูกรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

วัยรุ่นชอบคิดมาก ปัญหาหนึ่งที่มักพบได้บ่อยในหมู่วัยรุ่น ก็คือเรื่องของการเป็นคนชอบคิดมากค่ะ คือจะชอบวิตกกังวลกับเรื่องที่ผ่านมาแล้วในอดีต และบางคนจะเป็นห่วงถึงเรื่อง ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เป็นความคิดที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ เป็นทุกข์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดคิดได้

เมื่อวัยรุ่นน้อยใจ พ่อแม่อาจไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำให้ลูกวัยรุ่นรู้สึกเจ็บปวดและน้อยอกน้อยใจคือ การกระทำที่ทำให้ เขารู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ ่อาจไม่ได้ตั้งใจ หรือคิดไปไม่ถึงเสียด้วยซ้ำ เช่น ชอบพูด

วัยรุ่นที่ชอบน้อยใจ สิ่งที่ทำให้ลูกวัยรุ่นรู้สึกเจ็บปวดและน้อยอก น้อยใจมากก็คือ การที่คุณทำให้เขารู้สึกว่าคุณลำเอียง รักลูกไม่เท่ากัน ทั้ง ๆ ที่คุณเองก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจ หรือคิดไปไม่ถึงด้วยซ้ำแต่การที่คุณชอบเอาลูก คนหนึ่งไปเปรียบเทียบว่าด้อยกว่าลูกอีกคนหนึ่ง

วัยรุ่นอารมณ์รุนแรง โดยทั่วไป วัยรุ่นมีอารมณ์รุนแรงเป็นธรรมชาติ ตั้งแต่รุนแรงเพียงเล็กน้อย เช่น หงุดหงิด ตำหนิคนอื่น คิดเร็วทำเร็ว จนถึงอารมณ์รุนแรงมาก ๆ เช่น ก้าวร้าว ดื้อดึง ด่าทอ ชวนทะเลาะต่าง ๆ และที่ออกจะรุนแรงมากเป็นพิเศษก็คือ ยกพวกตีกัน ก่อความไม่สงบในชุมชนและสังคม

วัยรุ่นกับเกมกด(วิดีโอเกม)
วัยรุ่นสมัยนี้ มักมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเล่นเกมส์ต่างๆ จนมากเกินไป ถึงขั้นที่ว่าอาจเล่นจนติดนานจนไม่มีเวลาไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากกว่า อาทิเช่น ทบทวนบทเรียน, ทำการบ้าน, อ่านหนังสือ เป็นต้น ดังนั้นวิธีทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือ ผู้ปกครองควรจะคอยสอดส่องดูแล อบรมสั่งสอนลูกไม่ให้ใช้เวลากับการเล่นเกมส์มากเกินไป แต่สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ไม่ควรใช้กล่าวว่ากล่าวตักเตือนที่รุนแรงเพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้น ให้ลูกไม่เชื่อฟัง และยิ่งเล่นเกมส์มากขึ้นไปอีก


ปัญหาของวัยรุ่น


:ปัญหาของวัยรุ่น:
วัยรุ่นกับการขาดความมั่นใจในตนเอง คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าคะที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง จะทำอะไรก็ต้องคอย ตามเพื่อน จะแต่งตัวก็ต้องตามแฟชั่น ไม่กล้าที่จะทำอะไรแตกต่างจากคนอื่น ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า สิ่งที่คุณอยาก ทำนั้นเป็นสิ่งดี -หรือบางทีก็ต้องจำใจทำตามเพื่อนทั้งๆ ที่รู้ว่าสิ่งที่เพื่อนทำ

วัยรุ่นกับยาเสพย์ติด เรื่องการลองยา เสพย์ยาในหมู่วัยรุ่นเป็นเรื่องที่ฮิตมาก เป็นมาทุกยุคทุกสมัย
และผู้ใหญ่จำนวนมากทีเดียวที่มักเหมาเอาว่า เป็นเพราะความอยากรู้อยากลองและเป็น

หนีออกจากบ้าน/ไม่อยากอยู่บ้าน วัยรุ่นหนีออกจากบ้าน / ไม่อยากอยู่บ้าน มักมีสาเหตุหลัก ๆ อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. บ้านไม่เป็นสุข 2. ติดเพื่อน ทางช่วยเหลือแก้ไขที่ดีก็คือ แก้ตามเหตุ 2 ประการนั้น ทั้งนี้อย่าได้ด่วนวิตก และตื่นตระหนก จนเกินไป

คิดมากและกังวลบ่อยๆ ปัญหาของเด็กวัยรุ่นที่มีลักษณะคิดมากและกังวลใจบ่อย ๆ นั้น โดยทั่วไปวัยรุ่น จะเป็นวัยที่ช่างคิดช่างฝันและช่างจินตนาการ ซึ่งในบางคนจะมีลักษณะ คิดมากกว่าทำ หรือผิดแล้วมิได้พูดคุยให้ใครทราบ แต่จะคิดวนในเรื่องเดิมซ้ำ ๆ หรือบางคนจะครุ่นคิดเกี่ยวกับปัญหาใด

ปัจจัยที่ส่งผลให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศ


:ปัจจัยที่ส่งผลให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศ:
อารมณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นในช่วงการเข้าสู่วัยรุ่นเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของร่างกายที่จะสืบทอดและดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ โดยมี สิ่งเร้าสำคัญใน 2 ลักษณะประกอบด้วย ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน (intrinsic stimulus) และลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก (extrinsic stimulus)

ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน


.. ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน ..
ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน หมายถึง สิ่งเร้าซึ่งเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยได้รับอิทธิพลมาจากการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งผลิตฮอร์โมนออกมาเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อ เนื่อง



ต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ควบคุมและกระตุ้นรวมทั้งผลิตฮอร์โมนทางเพศที่สำคัญ ได้แก่ ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี (pituitary gland) และต่อมเพศ (gonads)

1. ต่อมใต้สมอง หรือ พิทูอิทารี เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญที่สุดของร่างกาย และถือว่าเป็นต่อมหลักในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทาง เพศ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มาสเตอร์แกลน (master gland)

2. ต่อมเพศ ถือว่าเป็นปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายในที่กระตุ้นให้คนเราเมื่อย่างเข้าสู่ วัยรุ่นมีพัฒนาการทางเพศ และนำไปสู่การเกิดอารมณ์ทางเพศตามช่วงวัย ในเพศชายต่อมเพศ คือ ลูกอัณฑะ (testis) ส่วนในเพศหญิงต่อมเพศ คือ รังไข่ (ovary)
ฮอร์โมนที่ต่อมเพศในแต่ละเพศผลิตออกมา มีคุณลักณะที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางเพศ และการเกิดอารมณ์ความรู้สึกทางเพศ ดังนี้

1) ฮอร์โมนเพศของเพศชาย
เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น กลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อของลูกอัณฑะ นอกจากจะผลิตเซลล์เพศชาย หรือ อสุจิ (sperm) แล้ว ยังผลิตฮอร์โมนเพศออกมาด้วย ที่สำคัญ คือ ฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน (testosterone) ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผลให้วัยรุ่นเพศชายมีลักษณะความเป็นชายที่เห็นได้ อย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของการ เกิดความรู้สึกต้องการทางเพศขึ้น และหากตัดลูกอัณฑะทั้งสองข้างออกในช่วงของวัยเด็ก จะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติในร่างกายขึ้น เป็นต้นว่า อวัยวะเพศจะไม่เจริญเติบโต ไม่มีคุณลักษณะของความเป็นชาย มีการสะสมของไขมันบริเวณใบหน้า แขน หน้าอก และบริเวณรักแร้มากขึ้น และยังพบว่าบริเวณกล่องเสียงจะมีขนาดที่เล็กลงส่งผลให้มีเสียงคล้ายผู้หญิง และถ้าหากตัดลูกอัณฑะทั้งสองข้างออกในวัยผู้ใหญ่จะส่งผลให้เป็นหมัน ไม่มีความรู้สึกทางเพศ และมีคุณลักษณะบางประการไปในทางเพศหญิง ได้แก่ ความแข็งแรงลดลง ขนาดของกล้ามเนื้อเล็กลง เป็นต้น

2) ฮอร์โมนเพศของเพศหญิง
ในเพศหญิงรังไข่ถือว่าเป็นต่อมเพศ จะผลิตฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางเพศของเพศหญิงออกมาที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนเอสตราดิโอล (estradiol) ฮอร์โมนฟอลลิคอวลาร์ (follicular) และฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone) โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการกระตุ้น และควบคุมพัฒนาการทางเพศในเพศหญิง เป็นต้นว่า ฮอร์โมนเอสตราดิโอล และ ฮอร์โมนฟอลลิคิวลาร์ ซึ่งโดยภาพรวมจะมีอิทธิพลในการควบคุมคุณลักษณะของความเป็นหญิง ตลอดจนกระตุ้นให้อวัยวะเพศของเพศหญิงเปลี่ยนจากลักษณะในวัยเด็กไปสู่วัย ผู้ใหญ่มากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้มีรูปร่างที่ได้สัดส่วนมากขึ้น มีประจำเดือนและมีการพัฒนาทางด้านจิตใจที่เป็นผู้หญิง และเกิดความรู้สึกต้องการทางเพศ ขึ้นเช่นเดียวกับเพศชาย แต่โดยธรรมชาติความรู้สึกที่เกิดขึ้นดังกล่าวเพศหญิงจะควบคุมอารมณ์และความ ต้องการได้ดีกว่าเพศชาย และพบว่าฮอร์โมนเอสตราดิโอลยังมีคุณลักษณะในการกระตุ้นให้รังไข่ ผลิตไข่ออกมาเดือนละฟองสลับกันข้างซ้าย ข้างขวา โดยมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผนังมดลูกมีความหนาขึ้นเพื่อพร้อมรับการฝังตัวของไข่ที่ ได้รับการผสม

ฮอร์โมนเพศเป็นปัจจัยภายในที่สำคัญที่เป็นสิ่งเร้าให้วัยรุ่นพัฒนาการของ อารมณ์ทางเพศเกิดขึ้น และนำไปสู่การเกิดความต้องการทางเพศตามช่วงวัย ในเพศชายฮอร์โมนที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ ฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน ส่วนในเพศหญิง คือ ฮอร์โมนเอสตราดิโอล และฮอร์โมนฟอลลิคิวลาร์

ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก


.. ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก ..
ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกต่างๆที่สามารถกระตุ้นผู้ที่รับรู้ให้เกิดอารมณ์ทางเพศขึ้น ซึ่งสิ่งเร้าเหล่านี้มีหลายรูปแบบ ได้แก่

1. สื่อรูปแบบต่างๆ
ในปัจจุบันมีสื่อหลากหลายรูปแบบที่กระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศ โดยเฉพาะสื่อทางเพศ เป็นสื่อที่นำเสนอภาพหรือข้อมูลที่ให้ความรู้เรื่องเพศ มีทั้งสื่อที่สร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์
สื่อที่สร้างสรรค์ คือ สื่อที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกวิธี การป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น ส่วนสื่อที่ไม่สร้างสรรค์แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับของสื่อทางเพศที่ห้ามมีการเผยแพร่ในสังคมไทยอย่างเด็ดขาด ส่วนระดับที่สอง เป็นสื่อทางเพศที่ต้องห้ามเนื่องจากเป็นผลมาจากศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย
ความหลากหลายของสื่อที่กล่าวมาข้างต้นนั้น วัยรุ่นบางคนก็ไม่สามารถแยกแยะสื่อที่สร้างสรรค์กับสื่อที่มาสร้างสรรค์ได้ จึงได้รับเอาข้อมูลเรื่องเพศมากจากสื่อทั้งสองประเภท สื่อที่ไม่สร้างสรรค์จึงมีการผลิตและเผยแพร่มากขึ้นทุกวัน ทั้งในรูปแบบหนังสือและวารสารต่างๆ สื่อที่อยู่ในรูปของภาพยนตร์ก็มี และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ปัจจุบัน ระบบอินเทอร์เน็ตได้ถูกนำมาใช้เป็นสื่อทางเพศอีกช่องทางหนึ่ง บางกรณีก้นำเสนอผ่านเว็บไซต์ บางกรณีก็นำเสนอในรูปแบบเกมออนไลน์ และจะเห็นได้ว่า ระบบนี้บางทีก็ขาดการดูแล และการจัดการที่ดี จึงทำให้มีการเผยแพร่ลุกลามอย่างรวดเร็ว นอกจากจะยั่วยุและกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น แล้ว ยังอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอีกด้วย
จากความสำคัญของสื่อในรูปแบบต่างๆที่กล่าวมา อาจกล่าวได้ว่า สื่อที่กล่าวมาจัดเป็นสิ่งเร้าภายนอกที่สำคัญ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องตลอดจนวัยรุ่นต้องให้ความสำคัญในการระมัดระวังในการเลือก รับสื่อที่ถูกประเภทด้วย

2. สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันคงต้องยอมรับกันว่า สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมไทยได้เปลี่ยนไป เนื่องจากมีการรับเอาวัฒนธรรมของชาติตะวันตกให้มามีบทบาทในการดำเนินชีวิต ประจำวันมากขึ้น ทำให้วัยรุ่นไทยมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ทั้งทางด้านการแต่งกาย การคบเพื่อนต่างเพศ ซึ่งมีอิสระมากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบันสภาพของครอบครัวไทยเปลี่ยนไป ผู้ปกครองมีเวลาใกล้ชิดกับบุตรหลานน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพของภาวะทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังพบว่า ความมีอิสระของสื่อต่อการนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเพศ สิ่งต่างๆเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นสิ่งเร้าภายนอกที่สำคัญที่สามารถจะเร้าและ กระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดความต้องการทางเพศขึ้นได้ โดยเฉพาะหากขาดการดูแลและการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม

3. ค่านิยมและประพฤติที่ไม่เหมาะสมในบางลักษณะของวัยรุ่น ผลจากสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทางสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศที่ เปลี่ยนไป สางผลให้วัยรุ่นไทยเกิดค่านิยมและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในหลายลักษณะ เป็นต้นว่า ค่านิยมในเรื่องการแต่งกายตามสมัยนิยม (Fashion) ที่มากเกินไปของวัยรุ่น โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การสวมเสื้อผ้าที่รัดรูปทำให้เห็นส่วนเว้าส่วนโค้ง หรือการเปิดเผยสัดส่วนของร่างกายมากเกินไปของเพศหญิง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวอาจกระตุ้นและยั่วยุให้เพศชายเกิดความอารมณ์ทางเพศ ได้ นอกจากนี้ยังพบว่า วัยรุ่นมักจะมีค่านิยมเกี่ยวกับความต้องการในการแสดงออกโดยอิสระ เป็นต้นว่า การเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน การสัมผัสร่างกายของเพศตรงข้ามหรือการจับมือถือแขน กอดจูบกันในที่สาธารณะ การอยู่ลำพังสองต่อสอง หรือการไม่ให้ความสำคัญเรื่องการรักษาพรหมจรรย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญมากๆเพราะถือว่าเป็น ความคิดของวัยรุ่นที่เป็นวัยที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้าได้รับการเรียนรู้มาแบบผิดๆ และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ทางเพศไว้ได้ก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดครั้งยิ่ง ใหญ่ของชีวิตเลยก็ได้ วัยรุ่นจึงควรตระหนักในการควบคุมอารมณ์ทางเพศให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และควรมีสติยั้งคิดอยู่ตลอดเวลาด้วย

ผลกระทบจากการเกิดอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น


ผลกระทบจากการเกิดอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น
ลักษณะ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจและร่างกายซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การเกิดอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น แม้เรื่องดังกล่าวจะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและวัยรุ่นเองก็ ไม่ควรจะพยายามฝืนหรือแสร้งทำเป็นว่าตนเองไม่มีความรู้สึกเช่นนั้น เพราะการกระทำดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่จิตใจและร่างกายของวัยรุ่น ได้ แต่อย่างไรก็ตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้ก็ควรได้รับการควบคุมและจัดการให้ ถูกต้องเหมาะสม เพราะหากขาดการควบคุม และจัดการอย่างถูกต้องแล้วย่อมจะนำมาสู่ผลกระทบในด้านลบ

ผล กระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น จนนำมาสู่ปัญหาทางสังคมที่เห็นได้ชัดคือปัจจุบัน การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ซึ่งนำปัญหาต่างๆตามมาเป็นต้น การเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ โรคติดต่อทางเพศ โดยปัญหาเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาที่เป็นผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากอารมณ์ทาง เพศของวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการควบคุมและจัดการอย่างเหมาะสม

แนวทางในการจัดการกับอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น


:แนวทางในการจัดการกับอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น:
การจัดการกับอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่น มี แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญอยู่ 2 ลักษณะ ประกอบด้วย แนวทางการปฏิบัติเพื่อระงับอารมณ์ทางเพศ และ แนวทางการปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความต้องการทางเพศ



แนวทางการปฏิบัติเพื่อระงับอารมณ์ทางเพศ แนวทางการปฏิบัติเพื่อระงับอารมณ์ทางเพศ หมายถึง ความพยายามในการที่จะหลีกเลี่ยงต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ทางเพศที่เพิ่มมากขึ้น

1. หลีกเลี่ยงการดูหนังสือหรือภาพยนตร์หรือสื่อ Internet ที่มีภาพหรือข้อความที่แสดงออกทางเพศซึ่งเป็นการยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ

2. หลีกเลี่ยงการปฏิบัติหรือทำตัวปล่อยวางให้ความสบายเกินไป เช่น การนอนเล่นๆโดยไม่หลับ การนั่งฝันกลางวันหรือนั่งจินตนาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ การอยู่ในสภาพของบรรยากาศที่มีแสงสีที่ก่อหรือปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ

3. เหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดโอกาสการถูกสัมผัสในลักษณะต่างๆกับเพศตรง ข้ามซึ่งการกระทำดังกล่าวมักก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ เช่นการจับมือถือแขน [10%] การกอดจูบ [60%] การลูบคลำ [80%] การเล้าโลม [100%]

4. หลีกเลี่ยงและรู้จักปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้เที่ยวเตร่พักผ่อนในแนว ทางกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวกลางคืน การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมาต่างๆ ซึ่งสามารถนำพาไปสู่การเกิดอารมณ์ทางเพศได้


แนวทางการปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความต้องการทางเพศ


แนวทางการปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความต้องการทางเพศ
การปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความต้องการทางเพศ ในที่นี้หมายถึง กานผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ที่เกิดมาจากความต้องการทางเพศซึ่งเป็นผลมา จากสิ่งเร้าต่างๆ ด้วยวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นและสุขภาพของผู้ ปฏิบัติ
วิธีการปฏิบัติโดยทั่วไป อาจ มี 2 ลักษณะ ประกอบด้วย วิธีการผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการเบี่ยงเบนทางอารมณ์ และวิธีการผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง1. การผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศการ เบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศ หมายถึง การใช้แนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อหันเหความสนใจในเรื่องที่เกี่ยว ข้องกับเพศ ลดพลังความต้องการทางเพศที่เกิดขึ้นในช่วงวัยดังกล่าวให้ลดลง
การ เบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศปฏิบัติได้หลายลักษณะ เช่น การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาทุกวัน การเรียนหรือการทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ หรือร่วมในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมตามโอกาสที่เหมาะสม ฯลฯ โดยการปฏิบัติที่กล่าวมาจะช่วยให้มีความเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด ของอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้


2. การผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการบำบัดความใคร่ด้วยตนเองการ บำบัดความใคร่ด้วยตนเองหมายถึง การผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการจงใจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศใน ตนเองด้วยการกระตุ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
การบำบัดความใคร่ด้วยตนเองนี้ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ไม่มีผลร้ายแยงต่อสุขภาพ แต่การบำบัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมยังส่งผลให้สุขภาพทางกายและทางจิต ของบุคคลดีขึ้นได้อีกด้วย แต่ก็ไม่ควรปฏิบัติบ่อยจนเกิดความหมกมุ่นในเรื่องดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดเป็นลักษณะนิสัยที่อาจส่งผลลบต่อบุคลิกภาพและความเข้มแข็งทาง ด้านการควบคุมอารมณ์ที่ดีได้
ควรระลึกถึงหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องใน 3 ลักษณะสำคัญคือ

1) คำนึงถึงหลักความสะอาดเป็นพื้นฐาน
2) คำนึงถึงสถานที่ในการปฏิบัติ
3) ต้องไม่ปฏิบัติด้วยวิธีการที่รุนแรง

รูปแบบและวิธีการปฏิบัติของการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง1) ในเพศชาย เพศชายมักใช้มือไปกระตุ้นหรือสัมผัสที่องคชาต หรือบริเวณอื่นๆที่ไวต่อความรู้สึก ในการปฏิบัติดังกล่าวต้องระลึกถึงหลักการสำคัญใน 3 ลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น
2) ในเพศหญิง พบว่ามีวิธีการปฏิบัติในหลายวิธี เช่น การใช้บริเวณต้นขาหนีบอุปกรณ์การนอน หรืออาจใช้มือสัมผัสด้วยความนุ่มนวลบริเวณอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกจนบรรลุ ความต้องการทางเพศ ต้องระมัดระวังหรือลีกเลี่ยงการปฏิบัติในบางลักษณะที่มีความรุนแรง เช่น การใช้น้ำฉีดที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือการใช้นิ้วหรือวัตถุใดๆ สอดเข้าไปเสียดสีในช่องคลอด วิธีการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยเฉพาะการอักเสบและการ ติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์จนเป็นอันตรายร้ายแรงตามมา ต้องระลึกถึงหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ 3 ลักษณะสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กีฬาวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี พ . ศ . 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ . ศ . 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอล

ในต้นปี พ . ศ . 2439 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในครั้งนั้น Dr. Luther Gulick ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกพลศึกษาอาชีพและกรรมการบริหารด้านพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. ได้เชิญให้นาย William G. Morgan นำเกมนี้เข้าร่วมในการจัดนิทรรศการที่ New College Gymnasium โดยใช้ผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน

นาย Morgan ได้อธิบายว่าเกมใหม่ชนิดนี้เรียกว่า มินโตเนต (Mintonette) เป็นเกมที่ใช้เล่นลูกบอลในโรงยิมเนเชียม แต่อาจจะใช้เล่นในสนามกลางแจ้งก็ได้ ซึ่งผู้สามารถเล่นลูกบอลโดยไม่มีสิ่งกีดขวางเหนือความสูงของตาข่ายจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง การเล่นเป็นการผสมผสานกันระหว่างเกม 2 ประเภทคือ เทนนิส และ แฮนด์บอล

ศาสตราจารย์ Alfred T. Halstead ผู้อำนวยการพลศึกษาแห่งวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ซึ่งได้ชมการสาธิตได้ให้ข้อคิดเห็น และลงความเห็นว่า เนื่องจากเกมการเล่นส่วนใหญ่ลูกบอลจะต้องลอยอยู่ตลอดเวลา เมื่อตกลงพื้นก็ถือว่าผิดกฎเกณฑ์การเล่น จึงใช้ชื่อเกมการเล่นนี้ว่า วอลเลย์บอล ซึ่งในที่ประชุมรวมทั้งนาย Morgan ต่างก็ยอมรับชื่อนี้โดยทั่วกัน

ในปี พ . ศ . 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้

1. เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ

2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน

3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต

4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว

5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์

6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 2

7. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ

8. ลูกบอลถูกตาข่าย ( ลูกเสิร์ฟ ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย

9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก

10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี

ผู้อำนวยการพลศึกษาต่างๆ ของ Y.M.C.A. พยายามส่งเสริมและให้การสนับสนุนกีฬาชนิดนี้โดยนำเข้าไปฝึกในโรงเรียน ซึ่งครูฝึกพลศึกษาของมหาวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ กับมหาวิทยาลัย George William มลรัฐอิลลินอยส์ ได้เผยแพร่กีฬาชนิดนี้ไปทั่วสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมีการทำเป็นแบบแผน เพื่อจะได้นำไปเผยแพร่ต่อไปดังนี้

1. นาย Elwood s. Brown ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลไปสู่ประเทศฟิลิปปินส์

2. นาย J. Haward Crocher นำไปเผยแพร่ที่ประเทศจีน

3. นาย Franklin H. Brown นำไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่น

4. Dr. J.H. Cary นำไปเผยแพร่ที่ประเทศพม่า และอินเดีย

ปี พ . ศ . 2453 นาย Elwood S. Brown เดินทางไปฟิลิปปินส์ ได้ช่วยจัดตั้งสมาคม และริเริ่มการแข่งขันครั้วแรกที่กรุงมะนิลา ในปี พ . ศ . 2456 โดยเรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า Far Eastern Games

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 Dr.Grorge J. Fischer เลขาธิการปฎิบัติการสงคราม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลเข้าไว้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการฝึกทหารในค่าย ทั้งในและนอกประเทศ และได้พิมพ์กฎกติกากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อแจกจ่ายไปยังหน่วยต่างๆ ของทหาร ทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เพื่อให้ทหารได้ใช้เวลาว่างกับกีฬาโดยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล และตาข่ายจำนวนหลายหมื่นชิ้นได้ถูกส่งไปยังค่ายทหารที่ประอยู่ตามหน่วยต่างๆ ทั้งในประเทศและกอง ทัพพัธมิตร นับว่า Dr.Grorge J. Fisher เป็นผู้ช่วยเหลือกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างมากจน ได้ชื่อว่าบิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

ปี พ . ศ . 2465 ได้มีการปรับปรุงกฎกติกาของวอลเลย์บอลใหม่ โดยสมาคม Y.M.C.A. และสมาคมลูกเสือแห่งอเมริกัน N.O.A.A. ได้จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นมีรัฐต่างๆ ส่งเข้าแข่งขัน 11 รัฐ มีทีมเข้าแข็งขันทั้งสิ้น 23 ทีม รวมทั้งทีมจากแคนาดา

ปี พ . ศ . 2467 กองทัพบกและกองเรือของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้แพร่เข้าไปยังกลุ่มโรงเรียน และสมาคมต่างๆ ซึ่งเรียกกันว่าสมาคมกีฬาและสันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสันทนาการแห่งชาติ ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุไว้ในกิจกรรมของสมาคม

วันที่ 9 กรกฎาคม พ . ศ . 2471 ไดมีการตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น เรียกว่า The Untied States Volleyball Association มีชื่อย่อ USVBA ที่ Dr. George J. Fischer เป็นประธาน และ Dr. John Brown เป็นเลขาธิการ ได้ตั้งความมุ่งหมายในการบริหารกีฬาวอลเลย์บอลออกเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. จัดการประชุมประจำปีเพื่อจดทะเบียนมาตรฐานของกีฬาวอลเลย์บอลให้ดีขึ้น

2. วางแผนงานพัฒนากีฬา และการจัดการแข่งขัน

3. จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติ

4. พัฒนากติกาในการเล่นให้ดีขึ้น

5. จัดหาสมาชิกให้เพิ่มขึ้น

ปี พ . ศ . 2479 ได้มีการจัดการแข่งขันประจำปีที่นครนิวยอร์ก จากการแข่งขันนี้ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแข่งขันวอลเลย์บอลดีขึ้น โดยมีสมาชิกเข้าร่วมจำนวนมาก

ปี พ . ศ . 2483 สมาคม USVBA ได้รับสมาชิกเพิ่ม 2 ทีม คือ มหาวิทยาลัยเทเบิล และมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และได้มีการแข่งขันประเภทประชาชนทั่วไปที่รัฐฟิลาเดลเฟีย

ปี พ . ศ . 2485 มีการแบ่งเขตออกเป็น 12 เขต สมาชิกต่างๆ ได้ขอร้องให้สมาคม Y.M.C.A. หยุดรับสมาชิกเพราะมีสมาชิกมากเกินไป ทำให้บริการได้ไม่ทั่วถึง เอกอัครราชทูตของรัสเซีย ในกรุงวอชิงตัน ได้ส่งเอกสารเกี่ยวกับกฎกติกาของวอลเลย์บอล ซึ่งได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยมีนาย Herry E. Willson และ Dr. David T. Gaodon เป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้น

วันที่ 12 ธันวาคม พ . ศ . 2485 นาย William G. Morgan ผู้ริเริ่มกีฬาวอลเลย์บอลได้ถึงแก่กรรม

ปี พ . ศ . 2486 สมาคมสตรีของ AAHPER (America Association of Health,Physical Education and Recreation) โดยมี Dr. John Brown เป็นเลขาธิการและเหรัญญิกของสมาคม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุเข้าไว้ในกิจกรรมของสมาคมสตรี และดำเนินการแข่งขันภายในกลุ่ม

ระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม พ . ศ . 2487 ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้น โดยมีทีมที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมาก

ปี พ . ศ . 2489 ได้เริ่มมีการสอนกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้อุปกรณ์การสอน เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นและการแข่งขันซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร จำนวน 2 ม้วน ในการทำภาพยนตร์ครั้งนี้คิดเป็นเงินประมาณ 7,800 ดอลลาร์ฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างชาติ โดยเริ่มที่ชิคาโก ซึ่ง Andrew Stewert เลขาธิการโอลิมปิกแห่ง สหรัฐอเมริกา เพื่อนำกีฬาวอลเลย์บอลจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกต่อไป

ปี พ . ศ . 2490 ได้มีกฎกติกาจัดพิมพ์ใหม่ โดยสมาคม USVBA ซึ่งทางสมาคมได้ส่งนาย FB. De Groot และนาย Royal L. Thomas เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมที่กรุงปารีส โดยร่วมจัดการแข่งขันระหว่างชาติขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดสหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้นในต้นปีนี้เอง

ปี พ . ศ . 2491 มีการประชุมสมาคม USVBA ที่ South Bend Indiana และปรับปรุงสมาคม USVBA มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ขึ้น โดยสมาคมได้ส่งทีมวอลเลย์บอลชายไปตระเวนแข่งขันในยุโรป

ปี พ . ศ . 2492 หนังสือ Time Game เขียนโดยสมาคม USVBA รายงานการแข่งขันวอลเลย์บอลที่ลอสแอนเจลีส ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ผู้ที่ชนะเลิศได้แก่ รัสเซีย ที่ 2 ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย และในปีนี้เองประเทศผรั่งเศสได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม USVBA ด้วย

ปี พ . ศ . 2493 Dr. Fisheer ข้าราชการบำนาญที่มาร์แชลแอลเวลเตอร์ ได้นัดประชุมผู้นำทางกีฬาวอลเลย์บอล โดยแต่ละประเทศได้เขียนรายงานการประชุมเป็นภาษาสวิส และมีการสาธิตการเล่นกลางแจ้ง และในปีนี้ประเทศอังกฤษได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลไว้ในกิจกรรมของสมาคม Y.M.C.A. ของอังกฤษด้วย

ปี พ . ศ . 2494 นาย Robert J. Lavelca ได้ทำสไลด์เกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลขึ้น

ปี พ . ศ . 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา

ประวัติ ในประเทศไทย

วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้

ปี พ . ศ . 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น

ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น . อ . หลวงสุภชลาศัย ร . น . ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา

จนกระทั่งปี พ . ศ . 2500 ได้มีการจัดตั้ง " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี

ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล

2. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆ ของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง

3. เพื่อให้มีควมสามารถในการเล่นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด

4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

5. เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์

6. เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

7. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา

8. เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

9. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

อุปกรณ์

สนามแข่งขัน

สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์เรียบ และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง 18 ยาว 9 เมตร โดยมีบริเวณรอบๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือเพดาน อย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งระดับนานาชาติ ต้องมีบริเวณที่วางด้านข้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร และบริเวณด้านหลังไม่น้อยกว่า 8 เมตรเพดานด้านบนสูงไม่น้อยกว่า 12.5 เมตร

เส้นเขตสนาม

เส้นทุกเส้นต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร

เส้นแบ่งแดน

เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน อยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกลางจากจุดกึ่งกลางไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี

เส้นเขตแดน

1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกของแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความกว้างออกไปนอกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด

2. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือเส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น

3. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในแนวสมมุติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก

แสงสว่าง

แสงสว่างของสนามควรอยู่ที่ 500 - 1500 วัตต์

ตาข่าย

มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.50 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน

แถบข้าง

ใช้แถบสีขาวกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดอยู่ที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย

เสาอากาศ

ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.80 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่ายนอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นขึ้นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร

ความสูงของตาข่าย

ได้แก่ ตาข่าย ของทีมชายสูงจากพื้น 2.43 เมตร ทีมหญิงจะสูงจากพื้น 2.24 เมตร วัดที่จุดกึ่งกลางของสนาม

เสาขึงตาข่าย

ควรจะมีลักษณะกลมหรือเรียบทั้ง 2 เสาซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงจะต้องยึดติดกับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 - 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย

ลูกบอล

ลูกบอลจะต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน ต้องมีสีที่สว่าง เส้นรอบรูป 65 - 67 ซม . มีน้ำหนัก 260 - 270 กรัม แรงอัด 0.400-0.450 กรัม / ตร . ซม .

ใช้ลูกบอล 3 ลูก

การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีคนคอยเก็บลูกบอลให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน

ผู้เข้าร่วมแข่งขัน

ใน 1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน แพทย์ 1 คนนักกีฬาลงแข่งขันตลอดเวลา 6 คน

เครื่องแต่งกาย

ใช้กางเกงขาสั้น เสื้อยืดแขนยาวหรือแขนสั้น ถุงเท้า จะต้องสะอาด และแบบเดียวกัน สีเดียวกันทั้งทีม รองเท้าเป็นยางหรือหนังไม่มีเส้น ในการแข่งขันระดับโลก รองเท้าจะต้องมีสีเดียวกัน ( ยกเว้นเครื่องหมายการค้า ) ติดหมายเลขเรียงกันตั้งแต่ 1 - 12 เบอร์ติดที่กลางหน้าอกมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และกลางหลัง มีความสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อขณะแข่งขันได้แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม

รูปแบบการแข่งขัน

ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนและต้องมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะในเซตนั้น ใน กรณีที่ได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันต่อไปจนกว่าทีมใดหนึ่งจะมีคะแนนนำทีมฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน เช่น 26 : 24 หรือ 27 : 25 เป็นต้น

กติกา และ วิธีดู

การแข่งขัน

ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที

ตำแหน่งของผู้เล่น

ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา

การเปลี่ยนตัวผู้เล่น

เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม

การเล่นลูกบอล

ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก ( ได้ 4 ครั้ง ) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ

การเสิร์ฟ

จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที

การตบลูกบอล

ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย

การบล็อก

ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้

การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา

การขอเวลานอก

ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง

การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน

ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม . ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด

การหยุดพัก

พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน

การเปลี่ยนแดน

เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม

ข้อห้ามของผู้เล่น

ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด

มารยาทของผู้เล่น

ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น

แนะนำการดูวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก

จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก

การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา

ส่วนการนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง

จะมีผู้เล่นอยู่ในทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ

สำหรับผู้ตัดสินวอลเลย์บอล จะมี 2 คน คือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ขณะเดียวกันจะมีผู้กำกับเส้นอีก 4 คน

การนับคะแนน แรลลี่พอยต์ หรือนับทุกลูกที่ลูกตาย จากเซ็ตที่ 1 ถึง เซ็ตที่ 4 กรณีที่เล่น 3 ใน 5 ฝ่ายเสิร์ฟ เล่นลูกจะนับทีละ 1 คะแนน แต่ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำเสียหรือฟาวล์ จะเสียคะแนนและจะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่น โดยนับคะแนนลักษณะเดียวกัน จนกว่ามีทีมใดได้ครบ 25 คะแนนก่อน เป็นทีมชนะในเซ็ตนั้น หลังจากนั้นเริ่มต้นเล่นกันใหม่ จนกว่าจะรู้ผลแพ้ชนะซึ่งโดยปกติจะแข่งกันหาผู้ชนะ 3 ใน 5 เซต

การแข่งขันในเซตตัดสิน ( เซตที่ 3 หากแข่งขันระบบ 2 ใน 3 หรือ เซตที่ 5 ในระบบ 3 ใน 5 จะแข่งขันแบบแรลลี่พอยต์ หรือนับแต้มทุกแต้มที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกเสีย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือไม่ก็ตาม ฝ่ายใดทำลูกเสียหรือผิดกติกา จะเสียแต้มและเสียสิทธิเสิร์ฟด้วย เซตนี้จะเกมที่ 15 แต้ม ไว้แต่มีกรณีดิวส์ จะต้องมีแต้มห่างกัน 2 แต้ม

นอกจากนี้ยังมีกติกาเบื้องต้นบางอย่างที่ควรรับรู้ เช่น ตำแหน่งการเสิร์ฟ ได้เปลี่ยนใหม่ นักกีฬาสามารถเสิร์ฟจุดใดก็ได้ โดยจะต้องไม่เหยียบเส้นหลังสนามเท่านั้น

ในส่วนของผู้ฝึกสอน ปัจจุบันอนุญาตให้ผู้ฝึกสอนเพียงคนเดียว ยืน เดิน และให้คำแนะนำแก่นักกีฬาได้ที่บริเวณด้านหน้าม้านั่งในแดนตัวเองระหว่างเส้นเขตรุก ถึงเขตอบอุ่นร่างกาย โดยไม่ถือเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน